วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การศึกษาสภาพการเลือกซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บทที่1
บทนำสู่การวิจัย
1.1 บทนำ
ในงานวิจัยเล่มนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับสภาพการเลือกซื้อสินค้ามือสองสองของนักศึกษา ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ว่ามีสภาพอะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ทำให้ ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บริโภคสินค้าชนิดนั้นๆ โดยการใช้แบบสอบถามปลายปิดในการสำรวจ ซึ่งในบทนี้ประกอบไปด้วย
 1.ที่มาและความสำคัญของปัญหา
 2. วัตถุประสงค์การทำวิจัย
 3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 4. คำจำกัดความ
 5. ขอบเขตของการศึกษา
 6. โครงสร้างของงานวิจัย
 7. สรุป


1.2 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
     ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะซบเซา  เนื่องจากผลของราคาน้ำมันที่ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น ราคาสินค้าต่างๆจึงสูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภคส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น และมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้ในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆในชีวิตประจำวัน  ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้ามือสองจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนลงได้ เนื่องจากสินค้ามือสองเป็นสินค้าที่มีราคาถูก ถึงแม้ว่าสินค้า ชนิดนั้นจะผ่านการใช้งานมาแล้วแต่ก็ยงมีสภาพที่ดี ทำให้ผู้ที่ต้องการสินค้าเหล่านั้นแต่มีรายได้ไม่เพียงพอหันมาบริโภคสินค้ามือสองแทน
     การซื้อสินค้ามือสอง คือ การซื้อสินค้าที่ผ่านการใช้มาแล้ว โดยสินค้านั้นยังอยู่ในสภาพที่ดีและได้นำสินค้านั้นมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภคคนอื่นๆ ที่มีความพอใจและประสงค์จะซื้อเพื่อให้บริโภคต่อไป โดยมากเป็นสินค้าที่ยังคงสภาพอยู่ภายหลังการใช้ โดยปกติแล้วราคาสินค้านั้นมักจะมีราคาสูงมาก แต่เมื่อผ่านการใช้งานมาแล้วราคาก็จะถูกลง ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นแต่มีรายได้น้อยไม่พอสำหรับซื้อสินค้ามือ1 ก็สามารถซื้อสินค้าชนิดนั้นได้
     จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น การเกิดขึ้นของธุรกิจสินค้ามือสอง ได้สร้างทางเลือกใหม่ๆให้แก่ ผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล และตระหนักถึงข้อดี และข้อเสียของการที่จะเลือกใช้สินค้ามือสอง
     สำหรับการวิจัยนี้ มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิ พลต่อการบริโภคสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ใช้ กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ในชั้นปี ที่ 1-เนื่องจากนักศึกษากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยนักศึกษากลุ่มนี้ มีการดำเนินชีวิต มีความคิดทัศนคติ และสังคมที่หลากหลายรวมถึงมีพฤติกรรมการบริโภคที่น่าสนใจอีกด้วย


1.3 วัตถุประสงค์การทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจำแนกตามเพศ
3. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจำแนกตามอายุ
1.4 สมมุติฐาน
    1. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสอง จำแนกตามเพศแตกต่างกัน
    2. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสอง จำแนกตามอายุตกต่างกัน

1.5 ขอบเขตของการศึกษา
       การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสองของนักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ในครั้งนี้จะทำการศึกษาเฉพาะนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ที่ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  อายุ  และเพศโดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจหาข้อมูล จำนวน 300 คน จากนักศึกษาทั้งหมด


1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย
          จากแนวคิดทฤษฎีสามารถอธิบายพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ามือสองของศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและจากการศึกษาผลงานวิจัยอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้พอสรุปได้ถึงลักษณะต่างๆ ที่คาดหมายว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อการสำรวจพฤติกรรมการเลือกสินค้ามืองสองโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับประชากรอายุ เพศ ระดับการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้ามือสอง
ดังแผนภาพต่อไปนี้

1.7นิยามศัพท์ของการวิจัย


1.7.1 พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งที่มากระตุ้น (Stimulus) อาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกกระตุ้นมาแล้วระยะหนึ่ง
1.7.2 สินค้ามือสอง หมายถึง สินค้าที่ผ่านการใช้มาแล้วโดยผู้บริโภค โดยสินค้านั้นยังอยู่ในสภาพที่ดี และได้นำสินค้านั้นมานำเสนอขายให้แก่ผู้บริโภคคนอื่นๆ ที่มีความพอใจและประสงค์จะซื้อเพื่อให้ผู้บริโภคต่อไปโดยมากเป็นสินค้าที่ยังคงสภาพอยู่ภายหลังการใช้
1.7.3 ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง สิ่งที่สามารถเสนอขายให้กับตลาดเพื่อเรียกร้อง
ความสนใจและความเป็นเจ้าของการใช้หรือเพื่อบริโภคเป็นสิ่งซึ่งสนองความ
จำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ อาจเป็นสิ่งที่แตะต้องได้และแตะ
ต้องไม่ได้ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย ตัวสินค้า
-ลักษณะของสินค้า
-ประเภทของสินค้า
-คุณภาพของสินค้าความสะอาดของสินค้า
 1.7.4 ด้านราคา (Price) คือมูลค่าของสินค้าและบริการที่แสดงออกมาในรูปของ
จานวนเงิน การกำหนดราคามีวิธีการดังนี้
    -การตั้งราคาต่ำกว่าตลาด
    -การตั้งราคาที่สูงกว่าราคาตลาด
    -การตั้งราคาเท่ากับราคาตลาดทั่วไป
1.7.5 การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้จัดจำหน่าย
และตลาดเป้าหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งข่าวหรือชักจูงให้
เกิดทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อการส่งเสริมทางการตลาดอาจทำได้ 4 แบบ
ด้วยกันซึ่งเรียกว่า ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) หรือส่วน
ประสมในการติดต่อสื่อสาร (Communication Mix) ซึ่งประกอบด้วย
    -การโฆษณา ( Advertising)
    -การขายโดยใช้บุคคล (Personal Selling)
    -การส่งเสริมการขาย ( Sale Promotion)
    -การให้ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public
      Relation)
1.7.6 สถานที่หรือบางส่วนของสถานที่ที่มีที่ตั้งที่แน่นอนและมีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการซื้อสะดวกต่อการซื้อขายและร้านมีความสะอาด

1.7.7 กระบวนการ หมายถึงแนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเสร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายได้ประกอบด้วย
-รูปแบบการขาย
-กระบวนการขายสินค้า
-มีมาตรฐานในการให้บริการ
1.8ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้ามือสอง
2. สามารถนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาหรือทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องได้
3. เพื่อให้เราทราบถึงสภาพปัญหาอะไรบ้าง ที่เราต้องการศึกษาว่านักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ต่อการบริโภคสินค้ามือสอง
4.ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมต่างๆ ในการเลือกซื้อสินค้ามือสองที่นักศึกษาศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
5.เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้ามือสองในด้านต่างๆ เช่น ลดต้นทุน เพิ่มกำไร


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม


สมาชิกกลุ่ม
1.นางสาววนิดา     ข่ายทอง
2.นางสาวเกษรา    พินนะสา
3.นางสาวเพียงฟ้า      ผันศรี
4.นางสาวจิตราพร  ผาพานทอง
คณะวิทยาการจัดการ   สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี